หน้าเว็บ

โครงร่างโครงงาน

1. ชื่อโครงงาน    เรื่อง ช้างไทย 
2. ประเภทของโครงงาน     
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
3. ชื่อ สกุล  ผู้เสนอโครงงาน   
นางสาว จิฬาภรณ์ กันสุยะ                        ม.6/6   เลขที่   23
นาย ณัฐพล ฟุ้งวัฒนกุล                            ม.6/6  เลขที่  28
นางสาว ธัญรดา ขจรเกียรติพัฒนา           ม.6/6   เลขที่  36
4. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน
                มิส ดวงเดือน เกษม
5. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงานร่วม
                
-
6. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
ความสำคัญของช้าง
- ช้างสร้างความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศ
- ช้างใช้เป็นพาหนะในการคมนาคม
- ช้างใช้ในการอุตสาหกรรมทำไม้
ช้างเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ไทย          ช้างเป็นสัตว์ที่ดำรงอยู่คู่กับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สยามประเทศเคยใช้ธงชาติเป็นรูปช้างเผือก ชาวไทยเชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ ช้างเผือกจึงได้รับการยกย่องเสมือนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า

7. วัตถุประสงค์   
     1. เป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับช้างไทยที่ถูกต้องแก่ผู้ที่สนใจ
     2.ช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนอีกแนวทางหนึ่ง
     3.เป็นการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์

 8. หลักการและทฤษฎี

              การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่ดีงามของชาติไทยในอดีตกาลนั้นล้วนแต่ได้ช้างเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ด้วยทั้งสิ้น เมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ก็ได้ช้างเข้ามาเป็นแรงงานสำคัญอีกเช่นกัน เมื่อแรกเริ่มการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นช้างคือพาหนะสำคัญที่อัญเชิญพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตมาสถิตย์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ในงานพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีฉัตรมงคล หรือในงานพระราชทานงานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชอาคันตุกะหรือประมุขของต่างประเทศที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จะต้องนำช้างเผือกแต่งเครื่องคชาภรณ์ไปยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกของพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบพระเกียรติยศ

ในยุคสมัยที่การคมนาคมยังไม่เจริญเทียบเท่ากับในปัจจุบัน มนุษย์ยังไม่ได้มีการพัฒนาเครื่องจักรต่างๆ สำหรับนำมาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงเพื่อการขนส่งของ ช้างคือพาหนะที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับมนุษย์ เนื่องจากช้างเป็นสัตว์ใหญ่มีความเฉลียวฉลาดและมีพละกำลังมหาศาล ช้างจึงสามารถขนส่งสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในปริมาณมากได้อย่างอดทน

 ช้างไทยในพระราชพิธี
ประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่มีประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลซึ่งในประเพณีเหล่านี้ก็เกิดจากความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยในประเพณี หรือ พระราชพิธีต่างๆนี้ก็ได้มีการนำช้างเข้ามาประกอบพิธีเพื่อเป็นมิ่งมงคล ในประเพณีของไทยแต่เดิมช้างเผือกเป็นช้างที่สำคัญในงานพระราชพิธี ซึ่งพระราชพิธีเหล่านี้ได้แก่ งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และงานพระราชพิธีฉัตรมงคล การนำช้างเผือกขึ้นยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบ เกียรติยศจะต้องแต่งเครื่องคชาภรณ์ในรัชกาลที่  3 ได้มีการปรากฏถึงการนำช้างพระที่นั่งยืนแท่นในการรับแขกเมืองไว้ในพระราชพงศาวดารดาวกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ในรัชกาลที่ ที่กล่าวถึงในพระราชพิธีบวรราชาภิเษก พระบาทสมเด็จฯพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงช้างพระที่นั่งชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพพร้อมกันนี้ยังมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 กล่าวถึงการนำพระวิมลรัตนกิริณีช้างเผือกในรัชกาลที่ 4 แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ออกยืนแท่นพร้อมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวกับการขอความสมบูรณ์ให้กับต้นข้าวพืชพันธุ์ของประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ  ช้างที่นำมาใช้งานในพระราชพิธีเช่นนี้จะต้องมีการสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญก่อนซึ่งพระราชพิธีนี้แบ่งออกเป็น  2  ภร คือพิธีสมโภชขึ้นระวางพระราชทานนามช้าง งานสมโภชช้างนั้นจะจัดเป็นเวลาเท่าไหร่ ก็แล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละสมัยซึ่งในรัชกาลที่ 9 มีงาน 2 วัน






9. ขอบเขตของโครงงาน   
1.  วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่
                                1.1  เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                                1.2  โปรแกรม Adobe Dreamweawer
                                       โปรแกรม Ulead video studio


10. ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน

ลำดับที่
กิจกรรม
เดือนพฤษภาคม
เดือนมิถุนายน
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
1
2
3
4
1
2
3
4
1
2
3
4
1
2
3
4
1
คิดหัวข้อโครงงาน
















2
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล
















3
จัดทำโครงร่างเพื่อนำเสนอ
















4
ปฏิบัติการจัดทำโครงงาน
















5
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่ 1
















6
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่ 2
















7
ปรับปรุง ทดสอบ
















8
จัดทำเอกสารรายงานโครงงาน
















9
ประเมินผลงาน
















10
นำเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียน

















10. สถานที่ดำเนินงาน
โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
11. งบประมาณ
   -
12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ   
1.  ทำให้เราได้รู้และเข้าใจในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับช้างไทย
2.  สร้างความพึงพอใจให้กับคนที่เข้ามาเยี่ยมชมผลงานของเรา  
3. ให้คนที่มาศึกษางานได้เห็นคุณค่าของช้างไทยมากขึ้น 
13. เอกสารอ้างอิง

paweenawongblogger.blogspot.com/2011/04/blog-post_3271.html
http://www.lib.ru.ac.th/journal/elephant-thaihistory.html



ลงชื่อ..........................................  ลงชื่อ  ....................................          ลงชื่อ ........................................  
(นางสาวจิฬาภรณ์ กันสุยะ)                 นายณัฐพล ฟุ้งวัฒนกุล)         (นางสาวธัญรดา ขจรเกียรติพัฒนา)
           ผู้เสนอโครงงาน                               ผู้เสนอโครงงาน                          ผู้เสนอโครงงาน



                                                           ลงชื่อ.............................................
                                                                        (มิสดวงเดือน เกษม)
                                                                        ครูที่ปรึกษาโครงงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น